เครื่องมือในการจัดการความรู้


       การจัดการความรู้ประกอบด้วย กระบวนการหลัก ๆ ได้แก่ การค้นหาความรู้ การสร้างและแสวงหา ความรู้ใหม่ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ สุดท้ายคือ การเรียนรู้ และเพื่อให้มีการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร เครื่องมือหลากหลายประเภทถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
        1. เครื่องมือที่ช่วยในการ “เข้าถึง” ความรู้ ซึ่งเหมาะสำหรับความรู้ประเภทExplicit มักเป็นแบบทางเดียว
        2. เครื่องมือที่ช่วยในการ “ถ่ายทอด” ความรู้ ซึ่งเหมาะสำหรับความรู้ประเภทTacit อาศัยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นหลัก
ในบรรดาเครื่องมือดังกล่าวที่มีผู้นิยมใช้กันมากประเภทหนึ่งคือ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ หรือชุมชน นักปฏิบัติ (Communityof Practice : CoP)
                เครื่องมือ(Tool)
                    1. ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of practice : CoP)
                    2. การศึกษาดูงาน (Study tour)
                    3. การทบทวนหลังปฏิบัติการหรือการถอดบทเรียน (After action review : AAR)
                    4. การเรียนรู้ร่วมกันหลังงานสำเร็จ (Retrospect)
                    5. เรื่องเล่าเร้าพลัง (Springboard Storytelling)
                    6. การค้นหาสิ่งดีรอบตัว หรือสุนทรียสาธก (Appreciative Inquiring)
                    7. เวทีเสวนา หรือสุนทรียสนทนา (Dialogue)
                    8. เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist)
                    9. การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Action Learning)
                    10. มาตรฐานเปรียบเทียบ (Benchmarking)
                    11. การสอนงาน (Coaching)
                    12. การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring)
                    13. ฟอรัม ถาม – ตอบ (Forum)
                    14. บทเรียนจากความผิดพลาด (Lesson Learning)
                    15. เวทีกลุ่มเฉพาะ (Focus Group)

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น